นวัตกรรม คือ อะไรเดี๋ยวนี้ไปไหนมาไหน ก็ได้ยินแต่คนพูดถึงนวัตกรรม จนกลายไปเป็นคำศัพท์ทางการตลาดไปแล้ว แล้วจริงๆ ไอ้เจ้า นวัตกรรม ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation เนี่ย คืออะไร และมีที่มาอย่างไร ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้1. ธรรมชาติ คือ สิ่งต่างๆ รวมถึงปรากฏการณ์ที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น ก้อนดิน ผืนน้ำ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า2. วิทยาศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่อธิบายธรรมชาติ เช่น ทำไมฟ้าถึงผ่า ทำไมฝนถึงตก ทำไมลูกทุเรียนจึงตกดิน3. เทคโนโลยี คือ การนำวิทยาศาสตร์ มาทำใช้ในทางปฎิบัติ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยี RFID4. นวัตกรรม คือ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า เช่น นำนาโนเทคโนโลยี ไปใส่ในเสื้อผ้า ทำให้แบคทีเรียไม่เกิดการเติบโต ทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นอับ หรือ การนำนาโนเทคโนโลยีไปใส่ในพลาสติก ทำให้พลาสติคเกิดรูพรุนขนาดเล็กสำหรับใช้กรองเชื้อโรค การนำนาโนเทคโนโลยีใส่ในกระจกทำให้ฝุ่นไม่เกาะกระจก จึงเป็นกระจกที่ไม่ต้องการทำความสะอาดจะเห็นได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
http://rittikorn.multiply.com/journal/item/8/8
วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ3ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย(ก่อสวัสดิพาณิชย์2517 :84)คือ
1.ประสิทธิภาพ(Efficiency)เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล(Productivity)เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด(Economy)เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/?q=node/98
1.ประสิทธิภาพ(Efficiency)เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล(Productivity)เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด(Economy)เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/?q=node/98
นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีความสำคัญกัน
นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนวัตกรรม เป็นการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยี มุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
http://learners.in.th/blog/puukan/76807
http://learners.in.th/blog/puukan/76807
โครงการธนาคารข้าว หลายพื้นที่ในประเทศไทยต่างประสบกับปัญหาความทุรกันดารและภัยธรรมชาติ ทำให้ "ข้าว" อันเป็นอาหารหลักมีอันต้องขาดแคลนเนื่องจากได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง โครงการธนาคารข้าวจึงเกิดขึ้นเพื่อกักเก็บข้าวและช่วยบรรเทาความขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ประสบภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ ในท้องถิ่นต่างๆ มีข้าวพอเพียงต่อการบริโภค
http://www.bpp.go.th/project/project_1.html
http://www.bpp.go.th/project/project_1.html
โครงการกังหันชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนา คือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถและพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งสร้างเครื่องต้นแบบได้ครั้งแรกในปี 2532 การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบที่ติดตั้งอยู่กับที่และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ของกังหัน วิวัฒนาการของกังหันน้ำชัยพัฒนานั้น เริ่มจากการสร้างต้นแบบแล้วนำไปติดตั้งยังพื้นที่ทดลองเพื่อแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัยและพัฒนา กังหันน้ำ ซึ่งโครงสร้างและส่วนประกอบในส่วนที่เป็นปัญหาได้รับการแก้ไขมาโดยตลอดนับแต่มีการสร้างเครื่องต้นแบบ กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2536 หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริในการพัฒนากังหันน้ำได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2535 จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา นอกจากนี้ “กังหันชัยพัฒนา” ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
http://www.iloveking.net/project_water6.aspx
http://www.iloveking.net/project_water6.aspx
โครงการฝายชะลอน้ำ
ฝายแม้ว เป็นชื่อเรียก โครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ฝายแม้วเป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวรประเภทหนึ่ง ประเภทเดียวกับฝายคอกหมู โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้ ฝายแม้วยังอาจใช้เพื่อการทดน้ำ ให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำได้ในฤดูแล้ง โครงการตามแนวพระราชดำรินี้ได้มีการทดลองใช้ที่ โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จจนเป็นตัวอย่างให้กับโครงการอื่นๆต่อมา
http://www.t2k.ac.th/project/Project%205.htm
http://www.t2k.ac.th/project/Project%205.htm
โครงการฝนหลวง
การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบินที่มีอัตราการบรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย สูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ สูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
วิธีการทำฝนหลวง
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน ๑๐.๐๐ น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ ( มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ ) เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ ( เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย ) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)
http://dit.dru.ac.th/ka/a31.php
วิธีการทำฝนหลวง
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน ๑๐.๐๐ น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ ( มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ ) เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ ( เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย ) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)
http://dit.dru.ac.th/ka/a31.php
โครงการหญ้าแฝก
ให้ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดินฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม ดำเนินการขยายพันธุ์ ทำให้กล้าหญ้าแฝกเพียงพอด้วย ที่สำคัญต้องไม่ลืมหน้าที่ของหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อการรักษาดิน ให้ทุกหน่วยงานและหน่วยงานราชการที่มีศักยภาพในการขยายพันธุ์ ให้ความร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดิน ในการผลิตกล้าหญ้าแฝก และแจกจ่ายกลุ่มเป้าหมายให้เพียงพอ
ลักษณะของหญ้าแฝก
หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่
1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ
2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะ แคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน
ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้ 1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง 2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก 3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี 4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ 5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย 6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ 7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ 8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป 9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ
http://www.prdnorth.in.th/The_King/plant.php
ลักษณะของหญ้าแฝก
หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่
1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ
2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะ แคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน
ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้ 1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง 2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก 3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี 4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ 5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย 6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ 7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ 8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป 9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ
http://www.prdnorth.in.th/The_King/plant.php
โครงการแก้มลิง
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริโครงการแก้มลิงซึ่งเป็นโครงการระบายน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระรบรมมหาราชวัง เนื่องจากในช่วงฤดูฝนน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลติดต่อกันหลายวัน พร้อมทั้งน้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งโดยปกติแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถรับน้ำได้ประมาณ 3,000 ลบ.ม./วินาที โดยไม่ล้นตลิ่ง แต่เมื่อปี พ.ศ.2538 ในช่วงฤดูน้ำหลากมีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 5,500 ลบ.ม./วินาที น้ำจึงล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นอาณาบริเวณกว้างขวาง
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการแก้มลิง ที่สมควรดำเนินการให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และพื้นที่ในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร โดย "แก้มลิง" นี้ให้ทำหน้าที่รวบรวมน้ำ รับน้ำ และดึงน้ำท่วมขังพื้นที่ทางตอนบนมาเก็บไว้ พร้อมกับระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น - ลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก และการสูบน้ำที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริที่พระราชทานไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ..2538 โดยอาศัยคลองสรรพสามิต คลองสหกรณ์ และพื้นที่บริเวณใกล้คลองดังกล่าวนั้น จากการศึกษาข้อมูลพบว่าสภาพพื้นที่โดยทั่วไปไม่เอื้ออำนวยในการทำโครงการ อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงควรพิจารณาศึกษาโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" และคลองต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงแทน เนื่องจากคลองมหาชัย - คลองสนามชัยนี้ เป็นแหล่งรับน้ำใกล้บริเวณน้ำท่วมขังในเขตจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และกรุงเทพฯ ที่ระบายน้ำลงมา ลักษณะโครงการที่สำคัญจะประกอบด้วย การก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่าง ๆ พร้อมด้วยสถานีสูบน้ำตามความจำเป็น ซึ่งคาดว่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนไม่มากนัก และจะได้ประโยชน์คุ้มค่า รวมทั้งยังสามารถสร้างระบบให้เชื่อมกับโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" รวมเป็นระบบในการช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งศึกษา และพิจารณาดำเนินการโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" โดยเร่งด่วนต่อไป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ช่วยระบายน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทิ้งลงทะเล
2. ช่วยลดระยะเวลาน้ำท่วมขังให้สิ้นลง
3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของราษฎรในพื้นที่น้ำท่วม
4. ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม
5. ลดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ
6. การชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย
7. ช่วยให้มีการชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย
เมื่อดำเนินการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำในแม่น้ำท่าจีนตอนล่างในเขตจังหวัดสมุทรสาครเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำให้มีแหล่งน้ำจืดในฤดูแล้งเพียงพอสำหรับนำมาใช้ไล่น้ำเสียได้ ปัจจุบันน้ำในคลองภาษีเจริญและคลองมหาชัย รวมทั้งทางน้ำที่ต่อเนื่องในเขต กทม. ส่วนใหญ่จะมีน้ำเสียเป็นปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งสถานีสูบน้ำต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย - คลองสนามชัย" สามารถช่วยสูบน้ำเสียออกทิ้งลงทะเลในช่วงเวลาที่เหมาะสม แล้วผันน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเข้าไปล้างคลองต่าง ๆ เหล่านั้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้จะต้องพิจารณาดำเนินการโดยรอบคอบ เพราะจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ่อกุ้ง บ่อปลา ในเขตตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วย
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-1/no36-41/king/sec04p03.html
โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ
มะกอกโอลีฟมีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประเทศบอลข่าน, ทะเลเดรียติค จนถึงแถบที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเรสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre * ต่อไปทาง Anatolio * ผ่าน Crete* ไปถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปบริเวณลุ่มน้ำที่ติดกับชาบฝั่งของทะเลเมอดิเตอร์เรเนียนและจากการค้นพบทวีปอเมริกา การปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกใต้,จีน,ญี่ปุ่น และออสเตรเลียอีกด้วย มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ส่วนผลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและ ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีเนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆอีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตสบู่และน้ำมันนวดด้วยส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนเนื้อไม้ของกิ่งก้านและลำต้น ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ้งที่ 30 องศา ถึง 45 องศา เป็นได้ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง จากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ปลูกมะกอกโอลีฟในเชิงธุรกิจประมาณได้ว่า ปัจจุบัน มีมะกอกโอลีฟอยู่ราวๆ 820 ล้านต้น ซึ่งในจำนวนนี้ 808 ล้านต้น หรือประมาณ 99% ของทั้งหมด ปลูกอยู่ในกลุ่มลุ่มแม่น้ำบริเวณทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้าน hectares ผลผลิตของมะกอกโอลีฟถ้าคิดในช่วงเวลาครึ่งปีสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้ 90 % จะนำไป สกัดน้ำมันและอีก 10 % จะนำไปทำมะกอกดอง มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น
http://www.bpp.go.th/project/project_6.html
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น
http://www.bpp.go.th/project/project_6.html
โครงการสัตว์เลี้ยงพระราชทาน
บก.ตชด.ภาค 3 ได้รับมอบพันธุ์โคและสุกร จากโครงการเกษตรแม่แตง ( อยู่ในความรับผิดชอบของ มว.พก.ร้อย ตชด. 332) และมอบให้ กก.ตชด. 31 – 34 นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในถิ่นทุรกันดารและชาวไทยภูเขาเพื่อไปขยายพันธุ์
โคพระราชทานในส่วนของ บก.ตชด.ภาค 4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโคพันธุ์อเมริกันบรามัน 1 ตัว ชื่ออพอลโล่ ให้ กก.ตชด.เขต 9 และนำไปเลี้ยงไว้ที่ กองร้อย 2 อ.นาทวี จ.สงขลา พระราชประสงค์ในการมอบ โคพันธุ์ เพื่อให้ ตชด.นำไปเลี้ยงขยายพันธุ์กับโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อแจกจ่ายให้กับราษฎรที่ยากจนในถิ่นทุรกันดารโดยให้ราษฎรที่มีแม่โคพันธุ์พื้นเมืองนำมาผสมพันธ์กับโคพันธุ์พระราชทานที่กองร้อย 2 ฯ โดยมีเงื่อนไขว่า หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ได้ลูกตัวแรกให้ตกเป็นของเจ้าของแม่โค และลูกโคตัวที่ 2เป็นของ ตชด. ข้อตกลงนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายปี ต่อมาการผสมพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากพ่อโคอายุมาก และน้ำหนักตัวมากและโคพันธุ์พระราชทานก็ตายเพราะอายุมาก สำหรับลูกโคที่ ตชด.ได้รับไว้ ส่วนมากจะเป็นพันธุ์ผสมอเมริกันบรามัน 65 เปอร์เซ็นต์ และได้แจกจ่ายให้กับ กองร้อย ตชด.และ ร.ร.ตชด.เพื่อทำการขยายพันธุ์ตามพระราชประสงค์
http://www.bpp.go.th/project/project_11.html
โคพระราชทานในส่วนของ บก.ตชด.ภาค 4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโคพันธุ์อเมริกันบรามัน 1 ตัว ชื่ออพอลโล่ ให้ กก.ตชด.เขต 9 และนำไปเลี้ยงไว้ที่ กองร้อย 2 อ.นาทวี จ.สงขลา พระราชประสงค์ในการมอบ โคพันธุ์ เพื่อให้ ตชด.นำไปเลี้ยงขยายพันธุ์กับโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อแจกจ่ายให้กับราษฎรที่ยากจนในถิ่นทุรกันดารโดยให้ราษฎรที่มีแม่โคพันธุ์พื้นเมืองนำมาผสมพันธ์กับโคพันธุ์พระราชทานที่กองร้อย 2 ฯ โดยมีเงื่อนไขว่า หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ได้ลูกตัวแรกให้ตกเป็นของเจ้าของแม่โค และลูกโคตัวที่ 2เป็นของ ตชด. ข้อตกลงนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายปี ต่อมาการผสมพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากพ่อโคอายุมาก และน้ำหนักตัวมากและโคพันธุ์พระราชทานก็ตายเพราะอายุมาก สำหรับลูกโคที่ ตชด.ได้รับไว้ ส่วนมากจะเป็นพันธุ์ผสมอเมริกันบรามัน 65 เปอร์เซ็นต์ และได้แจกจ่ายให้กับ กองร้อย ตชด.และ ร.ร.ตชด.เพื่อทำการขยายพันธุ์ตามพระราชประสงค์
http://www.bpp.go.th/project/project_11.html